
จากตำนานนาฬิกาในสยาม เมื่อก้าวเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคของการเริ่มติดต่อทำการค้ากับชาวต่างชาติ ซึ่งก็คือผู้นำเอาเจ้าสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ' นาฬิกา' เข้ามาด้วยหน้าตาและชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยในตอนแรกสักเท่าไหร่ และถือเป็นจุดจบของการดูเวลาแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งอาศัยวิธีธรรมชาติ เช่น นาฬิกาแดด เทียบเวลากับเงาสะท้อนจากแสงอาทิตย์ที่ลอดส่องผ่านช่องหินที่นำมาเรียงต่อ กัน หรือผ่านโครงเหล็กง่ายๆไม่ได้บรรจุกลไกอันใดอย่างนาฬิกาแดดของประเทศจีน ไป

ในยุคสมัยของพระองค์นั้นได้มีการนำเข้านาฬิกาตั้งพื้นหรือที่เรียกกันว่า 'นาฬิกาตุ้มถ่วง' ส่วนใหญ่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศแถบตะวันตก แต่เมื่อพระองค์ทรงสั่งทำและนำเข้ามายังประเทศไทยเป็นพิเศษ จึงได้มีการดัดแปลงหน้าปัด โดยเฉพาะการใช้ตัวเลขไทยสำหรับบอกชั่วโมงแทนตัวเลขอารบิคซึ่ง ณ เวลาต่อมาได้กลายเป็นกระแสความนิยมเป็นอย่างมาก และในขณะเดียวกันก็เกิดการนำเข้านาฬิกาตั้งพื้นในวงกว้างมากขึ้นโดยบริษัท เอกชนหลายๆบริษัท ต่อมาล้วนมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำเข้านาฬิกา บริษัทเหล่านี้มักนิยมจารึกชื่อบริษัทตัวเองไว้บนพื้นหน้าปัดของนาฬิกาตุ้ม ถ่วงจนกลายเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งก็ว่าได้
องค์ประกอบหลักๆของนาฬิกาตุ้มถ่วงในยุคนั้นจะประกอบไปด้วย 'กลไกไขลาน'

ต่อมาไม่นานมีการพัฒนานาฬิกาตุ้มถ่วงเป็นนาฬิกาไขลานที่ย่อส่วนอันใหญ่โตเทอะทะของนาฬิกาตั้งพื้นโบราณให้มีขนาดเล็กลง

ความงดงามแล้วคงสู้หน้าปัดกระเบื้องเคลือบไม่ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังสึกกร่อนไปตามกาลเวลาได้ง่าย
'ประหยัดพื้นที่' กลายเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ของการผลิตนาฬิกา พัฒนามาเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะ ที่แม้จะนำเข้ามาในไทยเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่นาฬิกาพกจะเข้ามามีอิทธิพลแทนที่แต่ก็กลายเป็นที่นิยมของนักสะสมมาก เช่นกัน เนื่องจากนาฬิกาตั้งโต๊ะในสมัยก่อนไม่นิยมผลิตออกมาจำนวนมากๆ แต่จะผลิตเพียงเรือนเดียวในแต่ละลวดลายเท่านั้น นาฬิกาตั้งโต๊ะที่คนสมัยก่อนสะสม จึงมีน้อยนักที่จะหาเรือนอื่นที่เหมือนกันได้และกลายเป็นของสะสมล้ำอีกชิ้น หนึ่ง
กระแสนิยมของการใช้นาฬิกาพกเริ่มเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากความสะดวกสบายในการพกพาและดูเวลา เพียงแค่พลิกข้อมือก็ทราบเวลาเเล้ว นาฬิกาข้อมือยุคแรกๆในเมืองไทยยังเป็นนาฬิกาที่ดูเรียบง่ายคลาสสิค มีตัวเรือนทองเป็นส่วนใหญ่กลไกลภายในยังเป็นกลไกลไขลานล้วนเป็นคุณสมบัติ เด่นๆของนาฬิกาพกมาก่อน แต่ได้เปลี่ยแปลงไปคือการเน้นให้มีขนาดตัวเรือนเล็กและบางลง โดยมีแหล่งผลิตและผู้ส่งออกนาฬิกาข้อมืออย่างแพร่หลายไปทั่วโลกสำคัญคือสวิส เซอร์แลนด์ คนไทยเราเองก็รับเอาอายธรรมของการใช้นาฬิกาข้อมือเข้ามาทดแทนนาฬิกาพก เช่นกันหลังจากนั้นเพียงไม่นานนาฬิกาพกก็แทบจะเลือนหายไปจากความคิดของผู้ นิยมนาฬิกามาก่อน
ดูเหมือนว่าวิวัฒนาการของนาฬิกาข้อมือจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วที่สุด เมื่อมีการคิดค้นกลไกและรูปทรงใหม่ๆ ให้กับเรือนเวลาข้อมือกันมากขึ้น โดยเฉพาะจุดต้นกำเนิดของนาฬิกากลไกอัตโนมัติ ตามมาด้วยกระแสความนิยม
กลไกควอตซ์ ที่ส่วนใหญ่ผลิตมาจากประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะนิยมมาหวนนาฬิกาไขลานอีกครั้งในปัจจุบัน
....... อนุเคราะห์บทความโดย GM Watch
ที่มา:http://www.expert-watch.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=573884&Ntype=1