7 ต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกาของคุณ




   การดูแลรักษานาฬิกามีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของนาฬิกาแต่ละเรือน เอาเป็นว่าผมขออนุญาติป้องกันนาฬิกาของคุณล่วงหน้าพร้อมกับแนวทางการดูแล รักษานาฬิกาด้วย "7ต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกา" ที่น่าจะครอบคลุมทั้งวิธีการป้องกันและการดูแลรักษาได้  อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดแต่ผมว่ามีประโยชน์ไม่น้อยเลยครับ          

   1  อย่าคาดหวังว่านาฬิกาทุกเรือนจะสามารถกันน้ำได้  ถึงแม้ว่านาฬิกาสปอร์ตที่คุณมีอาจระบุคุณสมบัติกันน้ำบนหน้าปัดหรือฝาหลังก็ ตาม  แต่ก็ต้องดูขอบเขตความสามารถของมันด้วย  บางครั้งมันอาจช่วยได้แค่กันฝุ่น  กันเหงื่อ  หรือกันน้ำฝนได้เท่านั้น  และอาจกันน้ำได้ในต่างสถานการณ์กันด้วย เช่น  นาฬิกาที่ระบุว่ากันน้ำลึก 30 เมตร ทำได้เพียงป้องกันน้ำเข้าจากการล้างมือ  ไม่เหมาะที่จะใส่ลงว่ายน้ำ  หรือถ้าเป็นนาฬิกากันน้ำลึก 50 เมตร ใส่ว่ายน้ำได้แต่ต้องระดับตื้นๆ  ถ้าคุณชอบดำน้ำหรือเล่นกีฬาทางน้ำอื่นๆต้องใช้นาฬิกาที่กันน้ำได้ลึกตั้งแต่ 200 เมตร จึงจะสามารถรับแรงกระแทกของน้ำขณะเล่นกีฬาได้  อย่างไรก็ตามนักดำน้ำที่เข้มงวดก็ควรใช้นาฬิกาที่ออกแบบและผลิตออกมาเพื่อ การดำน้ำโดยเฉพาะดีกว่า

   2  อย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลเข้าห้องซาวน่าเป็นเวลานานๆเพราะจะทำให้น้ำมันหล่อ ลื่นและน้ำมันต่างๆที่อยู่ภายในนาฬิกาข้นและเหนียวขึ้นส่งผลต่อการทำงานและ ความเที่ยงตรงของนาฬิกาในอนาคต  และถือเป็นการทารุณกรรมนาฬิกามากที่สุด คือ ใส่นาฬิกาเข้าห้องซาวน่าแล้วออกมาอาบน้ำเย็นเฉียบทันที  หรือการใส่นาฬิกาออกอาบแดด  แล้วกระโจนลงสระว่ายน้ำต่อ  จริงๆแล้ววิธีเหล่านี้มีผลดีต่อระบบร่างกายของมนุษย์ แต่เป็นหายนะสำหรับนาฬิกา เพราะกลไกนาฬิกาไม่เหมือนคน มันเกลียดการเปลี่ยนแปลงอณุหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น จากอณุหภูมิ 80 องศาเซลเซียส(ซึ่งเป็นอุณหภูมิภายในนาฬิกาเมื่ออยู่ใต้แสงอาทิตย์) ปรับทันทีมาเย็นเฉียบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซสเซียส เป็นต้น

   3  อย่าให้สายหนัง สายพลาสติก หรือสายยางของนาฬิกาสัมผัสกับสเปรย์กันยุง หรือครีมทากันแดด เพราะสายนาฬิกาจะเสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร
โดยเฉพาะสาย พลาสติกและสายยางชั้นดีทั้งหลายโดนเมื่อไรสีจะเปลี่ยนเป็นสีซีดจางและเปราะ ง่ายขึ้นหลายเท่า คลอรีนในสระว่ายน้ำก็เป็นศัตรูตัวฉกาจ
ที่สามารถสร้าง ความเสียหายให้กับสายนาฬิกาได้เช่นกัน  แม้จะเป็นสายสเตนเลสสตีล ที่ควรทำความสะอาดด้วยน้ำบริสุทธิ์ทันทีที่ขึ้นจากสระครับ

   4  อย่าพยายามซ่อมนาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาจักรกลด้วยตัวคุณเองเลยครับ  ขนาดช่างซ่อมนาฬิกายังต้องใช้เวลาและประสบการณ์การเรียนรู้และ
ศึกษาการ ซ่อมนานหลายปี  ถ้านาฬิกามีปัญหานำไปให้ผู้เชี่ยวชาญซ่อมดีกว่า  และควรส่งนาฬิกาเข้าตรวจเช็คอย่างน้อยทุก 3-4ปี แบบเดียวกับที่ดูแล
รักษา รถเป็นประจำนั่นแหละ  เวลาที่คุณส่งนาฬิกาไปยังศูนย์ซ่อม  ช่างอาจเปลี่ยนชิ้นส่วนที่หมดอายุและชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้ทำความ สะอาด
และปรับอัตราการเดินของกลไก  รวมทั้งจะช่วยขัดตัวเรือนนาฬิกาให้ดูใหม่เหมือนเพิ่งแกะออกจากกล่อง  ข้อสำคัญคือ เลือกศูนย์ที่ไว้ใจได้และมีมาตราฐาน
พร้อมรับประกันให้คุณด้วยไม่เช่นนั้นคุณอาจได้อะไหล่ปลอมใส่ในนาฬิกาแทนอะไหล่ที่ไม่เสีย (แถมยังราคาดี) ได้ง่ายๆ

     5  อย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลลงเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่มีการกระแทกจนเกินไป เช่น ตีสควอช หวดเทนนิส ฟาดคริคเก็ต และหวดวงสวิงลูกกอล์ฟ
หรือ ขี่จักรยานเสือภูเขาบนพื้นถนนที่ขรุขระมากๆเป็นเวลานานๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้เป็นดี เพราะศัตรูตัวฉกาจของนาฬิกาจักรกลคือการถูกแรงสั่นสะเทือนซ้ำๆ หรือถูกกระแทกอย่างแรง แม้จะมีระบบกันกระเทือนแต่นานไปก็ต้านทานไม่ไหวเหมือนกัน ถ้าชอบเล่นกีฬาที่ใช้แรง แนะนำให้ใส่นาฬิกาที่ออกแบบมาเพื่อกีฬาประเภทนั้นๆดีกว่า หรือถ้าจะให้ดีกว่านี้ ใส่นาฬิกาสปอร์ตควอซ์เลยครับ ปลอดภัยไร้กังวลและไม่เสียดายทีหลังด้วย

   6  อย่าคิดว่านาฬิกากลไกจักรกลที่มีระบบปฏิทินตลอดชีพไม่จำเป็นต้องไขลานเพราะ ฟังก์ชันปฏิทินที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆ โดยไม่ต้องปรับ
เพราะ ถ้าไม่มีพลังงานคุณก็ต้องมาเสียเวลานั่งปรับอีกนั่นแหละ อีกอย่างถึงจะเป็นปฏิทินตลอดชีพ ก็ยังต้องปรับในวันที่ 1 มีนาคม 2100  ตามกฎปีอธิกสุรทิน 400ปี ถ้านาฬิกาปฏิทินตลอดชีพของคุณเป็นนาฬิกาจักรกลและหยุดเดินไปแล้ว คุณไม่ควรปรับตั้งเวลาใหม่และไม่ต้องปรับปฏิทิน  ในช่วงระหว่างเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 (22.00 - 02.00) เพราะอาจทำลายระบบปฏิทินของนาฬิกาได้ และถ้าไม่ได้ใส่นาฬิกาติดข้อมือทุกวัน ลงทุนซื้อกล่องหมุนนาฬิกาที่ใช้พลังแบตเตอรี่มาช่วยไขลานนาฬิกาให้เดินอยู่ ตลอดเวลาดีกว่าครับ  ศึกษาวิธีหมุนของตู้ด้วยก็แล้วกันจะได้ใช้อย่างเหมาะสมกับนาฬิการาคาแพงแต่ ละรุ่นของคุณ  
           
   7  อย่าคิดว่าสายหนังคือสายที่คงทนผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า สายนาฬิกาที่ทำจากหนังหลากหลายมากมาย เช่น หนังจระเข้ ไม่ควรใส่ทุกวัน
ปล่อย ให้มันได้พักเพื่อการคลายตัวและคืนรูป และปล่อยให้ความชื้นที่สายหนังรับมาจากข้อมือระเหยไปให้หมดก่อนจะนำมาใส่ ใหม่ และแม้ว่าสายหนังจะแปะป้าย
"กันน้ำได้"  ก็ไม่ควรใส่อาบน้ำหรือใส่นอนอยู่ดี ส่วนสายโลหะหรือสายทองประเภทต่างๆ ควรได้รับการทำความสะอาดอย่างพิถีพิถันเช็ดเอาฝุ่นและ
คราบสกปรกออกก่อนที่ฝุ่นจะติดแน่นเกินไป  โดยเฉพาะคราบที่ฝังตัวอยู่ตามข้อต่อสาย ตัวดีนักเชียว
    ขอบคุณ :www.expert-watch.com

Seiko Men's

Casio Men's

Sport watches

Citizen



General Best Sellers

Sport Watches

Pocket Watches

Fashion Watches

Glossary คำศัพท์เทคนิคที่นิยมใช้ในแวดวงนาฬิกา

    ตัวอักษร B
  •  Balance  หมาย ถึงชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ในชุดกลไก ซึ่งปกติแล้วเป็นโลหะรูปวงลมว่าง ไป-มา อยู่รอบแกนหมุน โดยใช้ใยนาฬิกาเส้นคู่เพื่อดึงให้โลหะชิ้นนี้แกว่าง ไป-มาเป็นการสร้างพลังงานให้แก่กลไก และแบ่งเวลาออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่เท่ากัน ซึ่งชิ้นกลไกที่แกว่ง ไป-มาแต่ละชิ้นของตัวบาลานซ์นี้เรียกว่า การแกว่งไป-มา (Oscillation) ซึ่งแต่ละครั้งของการแกว่งจะประกอบด้วยแรงสั่น 2 ครั้ง3
  •  Batter Reserve Indicator  คือ นาฬิกาที่มีคุณสมบัติในการเตือนการหมดอายุของแบตเตอรี่ มักแสดงผ่านเข็มวินาทีที่เดินกระโดดไปที่ละ 2 ช่วงวินาทีหรือ 4 ช่วงวินาที แทนที่จะเป็นครั้งละ 1 วินาที นั่นแสดงว่าเจ้าของจะต้องเตรียมเปลี่ยนแบตเตอรี่ภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากการเตือนนี
  •  Barrel  คือถังทรงกระบอกผอม  ๆ ภายในบรรจุด้วยสปริงตัวหลักของนาฬิกา ผิวรอบนอกของกระบอกจะมีลักษณะเป็นฟันเพื่อให้หมุนรางเฟือง
  •  Bezel  หรือ ที่เรารู้จักกันว่าขอบตัวเรือน คือวงแหวนโลหะต่าง ๆ ที่ว่างครอบหน้าปัดนาฬิกา รวมถึงขอบของกระจกหน้าปัดด้วย ส่วนใหญ่จะทำจากทองคำ โลหะชุบทอง หรือสแตนเลสสตีล
  •  Bi-directional Rotating  Bezel หมายถึง ขอบตัวเรือนที่สามารถปรับหมุนได้ 2 ทิศทาง คือทั้งทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกา ใช้ประโยชน์ในการคำนวณสเกลทางคณิตศาสตร์ เช่น คำนวณความเร็วเฉลี่ยหรือระยะทางเฉลี่ยเป็นต้น
  • Blued Screws มักพบในนาฬิการุ่นเก่าที่มีกลไกติดตั้งด้วยสกรูซึ่งถูกทำให้เป็นสีฟ้า  เน้นเพียงสร้างความสวยงามให้กับกลไกเท่านั้น
  • Bridge คือชิ้นส่วนอันเป็นองค์ประกอบติดร่วมกับท่านกลไกหลักเพื่อสร้างกรอบให้กับ กลไกนาฬิกาแล้วจึงค่อยบรรจุชิ้นส่วนต่างๆ เข้าไปกองภายในกรอบนี้
  • Built-in lllumination หมาย ถึงการให้แสงสว่างแก่หน้าปัดนาฬิกาซึ่งส่วนใหญ่ใช้การฝังสารเรื่องแสงไว้บน ตัวเลขหรือเครื่องหมายบอกชั่วโมงแล้วจึงนำมาติดไว้บนพื้นหน้าปัดทีหลัง หรือบ้างก็ใช้วิธีทาสารเรืองแสงให้เป็นตัวเลขหรือเครื่องหมายบอกชั่วโมงไว้ บนพื้นหน้าปัดไปเลย การทำเช่นนี้ก็เพื่อช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถดูเวลาได้แม้อยู่ในที่มือสลัว
  • ที่มา:http://www.expert-watch.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=418311&Ntype=1

6 ดาวเด่นนาฬิกาที่ขึ้นแท่นเรือนแพงที่สุดในโลก

6 ดาวเด่นนาฬิกาที่ขึ้นแท่นเรือนแพงที่สุดในโลก article
                  
            1. Vacheron Constantin ‘Tour de L’Ile’ - 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


                                                                                       
             2. Blancpain ‘Le Brassus 1735’ - 839,000 เหรียญสหรัฐฯ

                         
               3. Girard-Perregaux ‘Opera Three’ - 532,000 เหรียญสหรัฐฯ

                                                                                
                                                 4. Parmigiani Fleurier ‘Toric Corrector Quantieme Perpetual’
                                            
477,000 เหรียญสหรัฐฯ

                        
                5. Roger Dubuis ‘Excalibur EX 08’ - 450,000 เหรียญสหรัฐฯ
                                                                                                            
                                                 6. Audemars Piguet ‘Royal Tourbillon’ - 379,000 เหรียญสหรัฐฯ

ที่มา:http://www.expert-watch.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=310273&Ntype=1

ประวัตินาฬิกา Omega

ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักนาฬิกายี่ห้อ Omega

เบื้องหลังความสำเร็จก็คือ คุณภาพที่เชื่อถือได้ของนาฬิกา Omega ทุกเรือน 

   Omega ถือกำเนิดในปี 1848 ที่ La Chaux-de-Fonds โดยนักประดิษฐ์หนุ่มอายุเพียง 23 ปี ชื่อ Louis Brandt.  
   
     Louis Brandt ได้ประกอบนาฬิกาพกซึ่งใช้ชิ้นส่วนของนักประดิษฐ์ในท้องถิ่นและผลงาน

ของเขาได้ค่อยๆสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก.

    Louis Brandt ได้จากไปในปี 1879 โดยมีบุตรชาย 2 คน คือ Louis Paul   และ César

Brandt   เป็นผู้รับช่วงกิจการ และได้ย้ายบริษัทไปที่ Bienne

     ในดือนมกราคม 1880 เนื่องจากความพร้อมมากกว่าในด้านกำลังคน

การติดต่อสื่อสาร และพลังงาน  โดยเริ่มแรกย้ายไปโรงงานเล็กๆในเดือนมกราคม และได้ซื้อตึกทั้งหลังในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน.

      2 ปีต่อมาได้ย้ายไปที่  Gurzelen district of Bienne ซึ่งสำนักงานใหญ่ยังคงตั้งอยู่ที่นี่ถึงปัจจุบัน.

     ทั้ง Louis-Paul และ  César Brandt  ได้ตายพร้อมกันในปี  1903 ได้ทิ้งบริษัทผู้ผลิตนาฬิกาสวิสที่ใหญ่ที่สุด

ด้วยยอดกำลังการผลิตนาฬิกา  240,000 เรือนต่อปี และพนักงาน 800 คน ไว้ในการบริหารของกลุ่มคนหนุ่ม 4 คน

ซึ่งผู้ที่อาวุโสที่สุดก็คือ  Paul-Emile Brandt  มีอายุเพียง 23 ปี

             
       ด้วยความยากลำบากอันเกิดขึ้นเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1  OMEGA  ได้ตัดสินใจรวมกิจการกับ  Tissot 

ตั้งแต่ 1925 จนถึง  1930  ภายใต้ชื่อ SSIH.
   
      ในช่วงทศวรรษ 70  SSIH ได้กลายเป็น ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสอันดับหนึ่งและเป็นอันดับ 3 ของโลก.

     จนกระทั่งช่วงวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในระหว่าง 1975 ถึง 1980,SSIH ได้ถูกซื้อกิจการ

โดยแบงก์ในปี 1981. ในปี 1985 ธุรกิจได้ถูกควบกิจการโดยกลุ่มนักธุรกิจเอกชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การบริหารของ Nicolas
Hayekและได้เปลี่ยนชื่อเป็น SMH , Societe suisse de microelectronique et d'horlogerie,

      กลุ่มใหม่นี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และเติบโตเป็นผู้ผลิตแนวหน้าของโลก.
  
      ในปี 1998 ชื่อของ Swatch Group ได้ถูกเรียกขาน และได้รวมเอา  Blancpain และ Breguet เข้ามาร่วมด้วย และแน่นอนชื่อของ OMEGA ก็ยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่สร้างชื่อเสียงที่สุดและเป็นแบรนด์สำคัญของ กลุ่ม

      
First watch on the moon   
             รุ่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Omega ก็คือ Omega Speedmaster โดยรุ่นแรกที่ผลิตออกมาคือรุ่น CK2915 ในปี 1957 และได้ผลิต speedmaster ออกมาเรื่อยๆจนถึงวันหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษ 60 ในเวลานั้น NASA กำลังดำเนินโครงการอวกาศ MERCURY และก็กำลังจะเริ่มต้นโครงการ GEMINI หรือการส่งคนหนึ่งคู่ ออกไปโคจรรอบโลกซึ่งโครงการ Mercury ที่ NASA กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นการปฏิบัติภารกิจภายในยาน โดยนักบินถูกส่งไปโคจรรอบโลก ส่วน ภารกิจ Gemini นั้น จะมีการส่งคนออกไปนอกยานเพื่อลอยไปลอยมา และทำการทดลองต่างๆ ดังนั้น NASA จึงเกิดความต้องการที่จะจัดหานาฬิกาเพื่อใช้ในโครงการอวกาศต่างๆต่อไป โดยนาฬิกาที่ว่าจะต้องมีระบบจับเวลาเพื่อถูกใช้สำรองในกรณีที่ระบบเวลาหลักล้มเหลว นาฬิกาที่ว่าจะต้องทนต่อทุกสภาวะ ทั้งความกดดันอากาศ สภาพสุญญากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากติดลบไปเป็นร้อยองศาเพียงเคลื่อนข้ามจากใต้เงาไปสู่แสงแดด ดังนั้นในปี 1962 NASA จึงได้ส่งพนักงานจัดซื้อของตนออกไปหาซื้อนาฬิกาจับเวลามาอย่างละเรือนสองเรือนเพื่อใช้ในการทดสอบแบบไม่เป็นทางการ การจัดหาก็ทำอย่างง่ายๆ คือให้เจ้าหน้าที่ของตนไปที่ร้านขายนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองที่สำนักงานใหญ่ของตนตั้งอยู่ก็คือ Houstan รัฐ Texas ห้างดังกล่าวชื่อ Corrigan ซึ่งในปัจจุบันร้านนี้ก็ยังคงเป็นตัวแทนจำหน่ายของ Omega อยู่   หลังจากซื้อมาแล้ว Nasa ก็ได้วิเคราะห์นาฬิกาต่างๆและนำมาลองใช้ในโครงการ Mercury จนได้ไอเดียคร่าวๆแล้ว ในปี 1964 Nasa จึงกำหนดข้อต้องการในการจัดซื้อนาฬิกาต่างๆมาทดสอบเพื่อทำการใช้ในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo ใบขอสั่งซื้อได้ถูกส่งไปยังบริษัทต่างๆเช่น Elgin, Benrus, Hamilton, Mido, Luchin Picard, Omega, Bulova, Rolex, Lonngines, Gruen โดยมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1. ให้ส่งมอบไม่เกินวันที่ 21/10/1964
2. ต้องเดินผิดพลาดไม่เกิน 5 วินาทีต่อ 24 ชั้วโมง จะยิ่งดีถ้าเดินผิดพลาดไม่เกิน 2 วินาทีต่อวัน 3. ต้องกันแรงดันได้ตั้งแต่ แรงดันน้ำที่ 50 ฟุต จนถึงสุญญากาศที่ 10^ -5 มม ปรอท 4. หน้าปัดต้องอ่านง่ายในทุกสภาวะ โดยเฉพาะภายใต้แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นสีแดงหรือขาว อย่างต่ำๆต้องมองเห็นภายใต้แสงเทียนที่ระยะ 5 ฟุต ในสภาวะแสงจ้าหน้าปัดไม่ควรไม่มีแสงสะท้อน ถ้าจะให้ยิ่งดีหน้าปัดควรมีสีดำ
5. หน้าปัดต้องแสดง วินาที 60 วินาที วงนาที 30 นาที และวงชั่วโมง 12 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
6. นาฬิกาต้องกันน้ำ กันกระแทก กันแม่เหล็ก กระจกหน้าปัดต้องต้องไม่คมและไม่กระจายเป็นเศษๆเวลาแตก
7. นาฬิกาที่จัดหาจะเป็นไขลาน ออโต หรือใช้ระบบไฟฟ้าก็ได้ แต่ต้องเอามือหมุนขึ้นลานได้
8. นาฬิกานี้บริษัทที่จำหน่ายต้องมีรับประกันเป็นเวลาอย่างต่ำ 1 ปี


     จากเสป็คจะเห็นได้ว่า Nasa อาจได้ลองใช้นาฬิกาหลายๆยี่ห้อแล้วติดใจใน Omega เพราะเสป็คที่ออกมาเข้ากับOmega ทุกอย่าง ในขณะนั้นยังไม่มีนาฬิกาจับเวลาแบบ auto หรือใช้ไฟฟ้าออกมา และบางบริษัทก็ได้ปฎิเสธที่จะส่งนาฬิกาให้เนื่องจากว่าตนไม่ได้ผลิตนาฬิกาที่ตรงกับข้อกำหนดดังกล่าว การทดสอบที่ Nasa จัดขึ้นมาก็แบ่งเป็นชุดๆ หลายๆขั้นตอน พอสิ้นสุดการทดสอบแต่ละครั้ง นาฬิกาแต่ละเรือนก็จะถูกเช็คอย่างละเอียด ถ้าเดินไม่ตรงมากๆ ไขลานไม่ได้ จับเวลาไม่ได้ น้ำเข้า หรือชิ้นส่วนพัง ก็จะถูกคัดออกจากการทดสอบ 
     การทดสอบหฤโหด ได้แบ่งเป็นช่วงๆดังนี้ ระหว่างการทดสอบในแต่ละช่วง นาฬิกาก็จะถูกตรวจว่ายังทำงานปกติหรือไม่

    1. เข้าห้องอบที่อุณหภูมิ 71 C 48 ชั่วโมง แล้วต่อด้วย 93 C 30 นาที ปรับความดันไว้ที่ 0.35 ATM ความชื้น 15%
    2. อุณหภูมิ -18 C 4 ชั่วโมง
    3. ที่สุญญากาศ 10^ -6 ATM เข้าห้องอบลดอุณหภูมิจาก 71 C ลงมาที่ -18 C ในเวลา 45 นาที และเพิ่มกลับไปที่ 71 C ในอีก 45 นาที ทำแบบนี้วนไปวนมา 15 รอบ
   4. เข้าตู้อบความชื้นสูง 95% เป็นเวลา 240 ชั่วโมง อุณหภูมิในห้องทดสอบเปลี่ยนไปมาระหว่าง 20 - 71C ไอน้ำไม่เป็น
กรดหรือด่าง
   5. เข้าห้องอบ Oxygen 100% ที่แรงดัน 0.55 ATM เป็นเวลา 48 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 71 C ถ้ามีรอยใหม้ เกิดแก๊สพิษลอย
ออกมา หรือยางเสื่อมสภาพถือว่าสอบไม่ผ่าน
   6. โดนแรงเหวี่ยง 40G (ความเร่ง) ครั้งละ 11 Millisecond หกทิศทาง (คล้ายๆกับเหวี่ยงนาฬิกาแรงๆมากๆ เร็วมากๆ)  
  
7. ความเร่งจาก 1G ไป 7.25G ในเวลา 333 วินาที (ลักษณะคล้ายๆยิงจรวดขึ้นฟ้า)
   8. เข้าห้องสุญญากาศแรงดัน 10^ -6 ATM อีก 90 นาทีที่ 71 C และอีก 30 นาทีที่ 93 C
   9. แรงดันอากาศสูง 1.6 ATM เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  10. เข้าเครื่องเขย่า 30 นาที ที่ความถี่เปลี่ยนไปมาระหว่าง 5 - 2000 รอบต่อวินาที และที่ 5 รอบต่อวินาทีต่ออีก 15 วินาที แรงเขย่าอย่างต่ำๆ 8.8 G (เหมือนเขย่าแรงๆช้ามั่ง เร็วมั่ง)
  11. โดนยิงคลื่นเสียงที่ดัง 130 dB เป็นเวลา 30 นาที โดยใช้เสียงทุกช่วงความถี่ที่คนได้ยิน 
    หลัง การทดสอบRolex หยุดเดินสองครั้ง 1 และเข็มงอพันเข้าหากันในตู้อบความร้อน เลยถูกคัดออกจากการทดสอบ ส่วน Longines นั้นกระจกหลุดร่วงออกจากตัวเรือน เปลี่ยนตัวใหม่เข้า test ต่อก็ยังร่วงอีกเลยสอบตกไปตามๆกัน ที่เหลือรอดม
าได้ค ือ Omega Speedmaster ซึ่งหลังจากผ่านการทดสอบแล้ว สูญเสียความเที่ยงตรงในการทดสอบความเร่งและทดสอบสูญญากาศ พรายน้ำที่หน้าปัดมีรอยไหม้แต่อย่างอื่นปกติ ซึ่งเป็นที่พอยอมรับกันได้ Omega จึงผ่านการทดสอบและได้รับการบรรจุให้เป็น อุปกรณ์หลักในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo โดยเริ่มจากโครงการ Gemini 3
     ต่อมาปี 1965 Mission Gemini 4 Edward White ก็ได้ใช้ Omega Speedmaster ในการจับเวลาการลอยไปลอยมาในอวกาศ (Space walk) ของตน
     ดังนั้นในปี 1966 Omega จึงได้เพิ่มคำว่า PROFESSIONAL ต่อท้ายคำว่า Speedmaster บนหน้าปัดเพื่อเฉลิมฉลองการยอมรับจาก Nasa ให้ใช้ในโครงการอวกาศของตน
    ต่อมา มีแรงกดดันจากทำเนียบขาว เนื่องจากทางผู้ผลิตนาฬิกาอเมริกันไม่พอใจที่มีการใช้นาฬิกาสวิสในโครงการ อวกาศของอเมริกัน และโครงการส่งคนไปบนดวงจันทร์ ทาง Nasa จึงได้มีการตอบกลับไปพร้อมผลทดสอบว่าได้ทำการทดสอบแล้วพบว่า นาฬิกาที่ผลิตในประเทศไม่ผ่านการทดสอบนี้
           และแล้วในปี 1969 มนุษย์กลุ่มแรกก็ถูกส่งไปยังดวงจันทร์พร้อมด้วย Omega Speedmaster ภายใต้ภารกิจที่ชื่อ Apollo 11 ภารกิจนี้มีนักบินด้วยกันสามคนคือ Buzz Aldlin, Niel ArmStrong และ Michael Collins โดยสองคนแรกลงไปใน Lunar Module เพื่อร่อนลงบนดวงจันทร์ ส่วน Michael Collins ต้องอยู่บนยานแม่ซึ่งโคจรอยู่เหนือดวงจันทร์ ก่อนการแยกยาน นาฬิกาหลักบนยานแม่เกิดขัดข้อง Niel Armstrong จึงต้องทิ้งนาฬิกาของตนไว้บนยานแม่เพื่อใช้สำรองแทนเครื่องที่พัง ดังนั้นคนที่ใส่นาฬิกาลงไปบนดวงจันทร์คนแรกไม่ใช่ Niel Armstrong แต่เป็น Buzz Aldlin นาฬิกาเรือนถูกใช้จับเวลาที่นักบินทั้งสองปฎิบัติการอยู่ภายนอกยานบนดวง จันทร์ นี่เป็นที่มาของตำนาน The First Watch worn on the moon น่าเสียดายอย่างยิ่งตรงที่ว่าเมื่อ Buzz Aldlin กลับมาถึงโลกแล้ว ทรัพย์สินเครื่องใช้ต่างๆต่างก็ถูกขโมย หายไปรวมทั้งนาฬิกา Omega Speedmaster เรือนแรกที่มนุษย์โลกสวมบนดวงจันทร์ด้วย  ปีต่อมา Mission Apollo 13 Omega Speedmaster Professional ก็ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญอีกครั้งใน Mission Apollo 13 ซึ่ง Nasa ได้ทำการส่งคนไปลงดวงจันทร์อีก ระหว่างทางถัง oxygen ของยานได้เกิดระเบิดขึ้นมาทำให้สูญเสียแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในยานทั้งหมด นักบินต้องเอาชีวิตรอดโดยการนำยานเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์และใช้แรง เหวี่ยงของดวงจันทร์ผลักให้ยานพุ่งกลับสู่โลก การทำงานทำได้โดยติดขัดเพราะมีไฟฟ้าเพียงแค่พอหล่อเลี้ยงอุปกรณ์สื่อสารเท่า นั้น เครื่องมือจับเวลาไฟฟ้าประจำยานล้มเหลวทั้งหมด ดังนั้นนักบินจึงต้องใช้นาฬิกา Speedmaster จับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องสร้างแรงขับดัน เพื่อบังคับทิศทางยานให้พุ่งกลับสู่โลก ใครเป็นเจ้าของ Speedmaster และได้ดูหนัง เรื่อง Apollo 13 จะภูมิใจกับนาฬิกาของตนมาก เพราะมีฉากหนึ่งที่ผู้การ Jim Lowell ได้ใช้นาฬิกา Speedmaster  จับเวลาอย่างชัดเจน
      ปี 1975 มีโครงการอวกาศร่วมระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตในการนำยาน Apllo เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ Soyuz ของโซเวียต มีการจับมือกลางอวกาศ และเซ็นเอกสารเป็นที่ระลึก นักบินชาวอเมริกันและรัสเซียต่างก็ประหลาดใจเมื่อพบว่าทั้งสองฝ่ายใช้นาฬิกา เหมือนๆกันคือ Omega Speedmaster นั่นเอง แสดงว่า Omega รุ่นนี้เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองค่าย ส่วนนักบินรัสเซียอีกคนที่ชื่อ Alexandr Polishchuk ก็เลือกใช้ Omega เช่นกันแต่เป็นรุ่น Flight Master ซึ่งเป็นนาฬิกาลูกพี่ลูกน้องของ Speedmaster 
      ต่อมาช่วงต่อระหว่างโครงการ Apollo และโครงการ Space Shuttle ได้มีการจัดหานาฬิกาที่จะนำมาใช้ โดยมีการทดสอบแบบเดิม ครั้งนี้มีแรงผลักดันจากรัฐบาลให้นาฬิกาในประเทศอย่าง Bulova ได้เข้าทดสอบด้วย แต่ในที่สุดผู้ที่ชนะในการทดสอบครั้งนี้ก็ยังเป็น Omega Speedmaster Professional เช่นเดิม แต่ในครั้งนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ Omega ได้ใช้เครื่องรุ่นใหม่ Caliber 861 (Based on lemania 1863) เนื่องจากผู้ผลิตเดิมเลิกทำการผลิตเครื่องรุ่น 3210 แล้ว ช่วงหลังๆภารกิจ Space Shuttle ได้มีการปรับบรรยากาศภายในยานให้คนอยู่ได้โดยไม่ต้องสวมชุดอวกาศ และมีการค้นคิดนาฬิกาแบบ Quartz และ computer แบบติดข้อมือซึ่งมีความเสถียรมากขึ้นๆ ทำให้ให้บทบาทของนาฬิกาแบบ Mechanic ลดน้อยถอยลงไป Omega Speedmaster จึงค่อยๆกลายเป็นอุปกรณ์เพื่อ Back up แต่ชื่อเสียงและความยิ่งยงในอดีตก็ยังคงไม่ลืมเลือน มีนักบินอวกาศหลายคนที่ยังเลือกใช้ Omega Speedmaster ในชีวิตประจำวันของตน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงภารกิจนอกโลกที่ตนเคยมีส่วนร่วมนั่นเอง 



ที่มา:http://www.expert-watch.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=412726&Ntype=1

ประเภทนาฬิกา

ประเภทนาฬิกา
         
         เราเริ่มต้นกับเรื่องราวการแบ่งประเภทนาฬิกาตามกลไก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

   1.   Mechanical Watch หรือ นาฬิกากลไกจักรกล ที่อาศัยการเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆภายในชุดกลไกที่ได้รับแรงขับมาจากลาน สปริงมาทำให้นาฬิกาเดินได้ นาฬิกาจักรกลได้รับการคิดค้นมานานหลายร้อยปีซึ่งประมาณกันว่ามีการคิด ประดิษฐ์ขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
    - Manual Winding Watch คือนาฬิกาไขลาน (หรือไขลานด้วยมือ) ซึ่งเป็นนาฬิกาที่มีใช้กันมาแต่ดั้งเดิมโดยอาศัยการไขลานเพื่อดึงให้สปริง ลานดึงขึ้น และเมื่อสปริงลานตัวนี้คลายตัว ก็เสมือนการถ่ายโอนพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนๆฟันเฟืองต่างๆของกลไกและทำ ให้นาฬิกาทำงาน                           
    - Automatic Winding Watch (Self-winding watch) คือนาฬิกาออโตเมติก หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ หรือเรียกง่ายๆว่าไขลานและทำงานได้ด้วยตัวเอง นาฬิกาในกลุ่มนี้จะมีตัวโรเตอร์ (Rotor) คอยเหวี่ยงขึ้นลานให้ ขณะที่เราสวมใส่นาฬิกาไว้บนข้อมือตลอด หรือ อยู่ในเครื่องหมุนหรือตู้ไขลานนาฬิกา (Watch winder) ซึ่ง แรงเหวี่ยงจากข้อมือและตู้ไขลานจะช่วยให้โรเตอร์ทำงานตลอดส่งผลให้เกิดการ ขึ้นลานตลอด นาฬิกาจึงสามารถเดินได้ตลอดเวลา และจุดสังเกตของนาฬิกากลุ่มนี้ตัวเรือนเบาๆก็จะได้ยินเสียงโรเตอร์สั่นและ หมุนดังเป็นเสียงกิ๊กเบาๆ
  2.    Quartz Watch ที่ เรียกกันว่านาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ คือนาฬิกาที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือถ่านช่วยในการทำงานนั่นเอง นาฬิกากลุ่มนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอก เวลาหรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED ซึ่ง จะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมา ให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง นาฬิกาควอตซ์มีความเที่ยงตรงสูงและราคาไม่แพง สะดวกต่อการใช้งาน แต่ไม่นิยมในหมู่นักเล่นนาฬิกาเท่าไร

เรื่องเล่าแห่งนาฬิกาไทย

รื่องเล่าแห่งนาฬิกาไทย
      ความ ผูกพันระหว่างมนุษย์กับนาฬิกานั้นมีมามาแต่เนิ่นนาน  และเชื่อแน่ว่าจวบจนทุกวันนี้ 'นาฬิกา'และ'เวลา'ได้กลายเป็นคำ 2 คำอันแสนคุ้นหูและคุ้นชินของทุกคน เฉกเช่นเดียวกับวิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ บนโลกใบนี้ นาฬิกามีการพัฒนาการจากรุ่นเก่าแก่ดึกดำบรรพ์มาจนถึงเรือนเวลาในหลายหลากรูป แบบ  บรรจุไว้ด้วยหลากหลายฟังก์ชันการทำงาน  แต่สิ่งหนึ่งที่หากจะเปรียบเทียบมูลค่าแล้ว  เรียกได้ว่าแทบจะเทียบกันไม่ได้ก็คือประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานของ นาฬิกาแต่ละเรือนเวลาที่สั่งสมมาจากหลายชั่วอายุคนผ่านกาลเวลามาหลายทศวรรษ หรือบ้างก็กว่าศตวรรษ  สุดท้ายกลายเป็นเรื่องเล่ากล่าวขานที่ไม่รู้จักจบ  ถ่ายทอดไปสู่ผู้สืบทอดรุ่นแล้วรุ่นเล่า  เพิ่มความน่าพิสมัยสู่เรือนเวลา ที่มีแต่เจ้าของและผู้สืบทอดเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด

    จากตำนานนาฬิกาในสยาม  เมื่อก้าวเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคของการเริ่มติดต่อทำการค้ากับชาวต่างชาติ  ซึ่งก็คือผู้นำเอาเจ้าสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ' นาฬิกา' เข้ามาด้วยหน้าตาและชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยในตอนแรกสักเท่าไหร่  และถือเป็นจุดจบของการดูเวลาแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งอาศัยวิธีธรรมชาติ  เช่น นาฬิกาแดด เทียบเวลากับเงาสะท้อนจากแสงอาทิตย์ที่ลอดส่องผ่านช่องหินที่นำมาเรียงต่อ กัน  หรือผ่านโครงเหล็กง่ายๆไม่ได้บรรจุกลไกอันใดอย่างนาฬิกาแดดของประเทศจีน  ไปจน ถึงวิธีง่ายๆกับการเงยดูตำแหน่งของดวงอาทิตย์ของคนไทยในที่สุด  ถ้าให้กำหนดเวลาที่แน่นอนของการเข้ามาที่มีบทบาทของนาฬิกาในประเทศไทยจริงๆ คงต้องเริ่มจากกษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยีและทรงนำเอาอิทธิพล ตะวันตกต่างๆเข้ามาดัดแปลงใช้ในประเทศไทยนั่นคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีนอกจากบทบาททางการค้ากับเหล่านานาอารยประเทศที่พระองค์ทรง มีแล้ว  พระองค์ยังได้นำอาสิ่งประดิษฐ์มากมายอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยและ เหล่าขุนนางข้าราชบริพารในการบริหารประเทศเข้ามาด้วย หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์เหล่านั่นก็คือ'เครื่องบอกเวลา' หรือนาฬิกานั่นเอง 

     ในยุคสมัยของพระองค์นั้นได้มีการนำเข้านาฬิกาตั้งพื้นหรือที่เรียกกันว่า 'นาฬิกาตุ้มถ่วง' ส่วนใหญ่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศแถบตะวันตก  แต่เมื่อพระองค์ทรงสั่งทำและนำเข้ามายังประเทศไทยเป็นพิเศษ  จึงได้มีการดัดแปลงหน้าปัด  โดยเฉพาะการใช้ตัวเลขไทยสำหรับบอกชั่วโมงแทนตัวเลขอารบิคซึ่ง ณ เวลาต่อมาได้กลายเป็นกระแสความนิยมเป็นอย่างมาก  และในขณะเดียวกันก็เกิดการนำเข้านาฬิกาตั้งพื้นในวงกว้างมากขึ้นโดยบริษัท เอกชนหลายๆบริษัท ต่อมาล้วนมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำเข้านาฬิกา  บริษัทเหล่านี้มักนิยมจารึกชื่อบริษัทตัวเองไว้บนพื้นหน้าปัดของนาฬิกาตุ้ม ถ่วงจนกลายเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งก็ว่าได้

     องค์ประกอบหลักๆของนาฬิกาตุ้มถ่วงในยุคนั้นจะประกอบไปด้วย 'กลไกไขลาน' มีตัวตุ้มถ่วงและสายแขวนตุ้มเป็นชิ้นส่วนหลัก  และที่พิเศษกว่าในปัจจุบันคือยุคนั้นสายแขวนตุ้มจะทำมาจากสายซอ  ที่เชื่อกันว่ามีคุณภาพดีและคงทน  จนนาฬิกาประเภทนี้ได้รับการขนานนามกันอีกชื่อว่า 'นาฬิกาไหมซอ' ในส่วนของหน้าปัดนาฬิกานิยมทำจากกระเบื้องเผาที่มีความคงทน  เมื่อเคลือบและเผาทับกับตัวเลขและอักษรจารึกต่างๆแล้ว  ตัวอักษรเหล่านี้จะอยู่คงทนไม่มีการลบเลือน ถือเป็นความประณีตและความพิถีพิถันของคนสมัยก่อนเป็นอย่างยิ่ง  ส่วนอีกความโดดเด่นของนาฬิกาตั้งพื้นก็คือ ตัวไม้ที่นำมาหุ้มส่วนประกอบสำคัญของนาฬิกาและกลายเป็นตู้ไม้ที่งดงามวิจิตร บรรจงเหมาะกับการเป็นของตกแต่งบ้านและสถานที่ต่างๆได้เป็นอย่างดี  ส่วนแหล่งผลิตสำคัญของนาฬิกาตั้งพื้นมีกระจัดกระจายอยู่หลายที่  แต่ที่นิยมและนำเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุดเห็นจะเป็นนาฬิกาจากกรุงปารีส   จนคนไทยเรียกติดปากว่า 'นาฬิกาปารีส 'หรือนาฬิกาจากอังกฤษที่เรียกว่า 'นาฬิกาลอนดอน' และนาฬิกาจากเวียนนา  ที่คนไทยเรียกว่า 'นาฬิกาเวียนนา' ระยะหลังนาฬิกาเวียนนากับได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนกลายเป็นนาฬิกาขายดี และพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยนั้น

     ต่อมาไม่นานมีการพัฒนานาฬิกาตุ้มถ่วงเป็นนาฬิกาไขลานที่ย่อส่วนอันใหญ่โตเทอะทะของนาฬิกาตั้งพื้นโบราณให้มีขนาดเล็กลง  และกลายเป็นนาฬิกาแขวนผนังต่างๆนาฬิกาไขลานในยุคแรก แม้จะดูเป็นของใหม่แต่เรื่องคุณภาพยังสู้นาฬิกาตุ้มถ่วงแบบโบราณไม่ได้  เนื่องจากพอลานใก้ลหมด  ในนาฬิกาไขลานจะยิ่งทำให้นาฬิกาเดินช้าลง  อันมีผลต่อความเที่ยงตรงในการบอกเวลาและสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคนี้ ก็คือการนำเอาวังกะสีมาทำเป็นหน้าปัดแทนการใช้กระเบื้องเคลือบ  ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีนหรือญี่ปุ่น  เพื่อลดต้นทุนการผลิตและขายได้ในราคาถูกลง โดยเน้นปริมาณการขายมากกว่ารูปแบบของงานฝีมือช่างอย่างในอดีตดังนั้น  หากพูดถึง
ความงดงามแล้วคงสู้หน้าปัดกระเบื้องเคลือบไม่ได้อย่างแน่นอน  อีกทั้งยังสึกกร่อนไปตามกาลเวลาได้ง่าย

     'ประหยัดพื้นที่'  กลายเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ของการผลิตนาฬิกา   พัฒนามาเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะ  ที่แม้จะนำเข้ามาในไทยเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ  ก่อนที่นาฬิกาพกจะเข้ามามีอิทธิพลแทนที่แต่ก็กลายเป็นที่นิยมของนักสะสมมาก เช่นกัน   เนื่องจากนาฬิกาตั้งโต๊ะในสมัยก่อนไม่นิยมผลิตออกมาจำนวนมากๆ   แต่จะผลิตเพียงเรือนเดียวในแต่ละลวดลายเท่านั้น  นาฬิกาตั้งโต๊ะที่คนสมัยก่อนสะสม  จึงมีน้อยนักที่จะหาเรือนอื่นที่เหมือนกันได้และกลายเป็นของสะสมล้ำอีกชิ้น หนึ่ง

     กระแสนิยมของการใช้นาฬิกาพกเริ่มเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว     นับจากแรกๆ  เป็นนาฬิกาที่พระมหากษัตริย์นิยมสั่งทำขึ้นพิเศษและมอบให้แก่เหล่าขุนนาง หรือบุคคลสำคัญ  ในวาระสำคัญต่างๆนาฬิกาสมัยเก่า  จึงมักจะมีคำจารึกบันทึกวาระหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆไว้  ไม่ว่าจะบนพื้นหน้าปัดหรือฝาหลังของตัวเรือนนาฬิกา  ก็ตามกลายเป็นของล้ำค่าที่หายาก  แต่ไม่นานกระแสการใช้นาฬิกาพกก็ได้เข้าสู่สังคมระดับกลาง  โดยเฉพาะบรรดาพ่อค้าแม่ขายผู้มีฐานะ   จากนาฬิกาสำหรับบอกเวลากลายเป็นเคื่องประดับบารมีอีกชิ้นหนึ่งไป  และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้นาฬิกาพกเริ่มเป็นที่พบเห็นกันหนาตา  รวมถึงภาพการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยที่ผูกพันธ์กับเครื่องบอกเวลามาก ขึ้น   ในเวลานี้เองแหล่งผลิตของนาฬิกาจวบจนถึงปัจจุบันอย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังกลายเป็นแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงมากที่สุด สำหรับนาฬิกาพก   และนาฬิกาข้อมือ  ผู้ผลิตหลายรายเริ่มต้นจากการผลิตนาฬิกาพกที่นอกจากย่นย่อขนาดให้สามารถพกพา ได้สะดวกแล้ว  ยังได้พัฒนาในส่วนของกลไกลที่ต้องลดขนาดลงหลายสิบเท่า ซ้ำยังมีการผลิตคิดค้นการผลิตฟังก์ชันใหม่ๆเพิ่มเติมเข้าไปด้วยเช่น ฟังก์ชันบอกวัน และวันที่ บอกข้างขึ้น-ข้างแรม ย่ำรุ่งย่ำค่ำ บอกเวลาของไทม์โซนที่ 2  และระบบจับเวลาที่ไม่ซับซ้อนอะไรมาก     ด้วยคุณูปการของเจ้าของนาฬิกาพกที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา  ทำให้มีผู้ริเริ่มเปลี่ยนจากนาฬิกาพกมาเป็นนาฬิการ้อยหูด้วยริบบิ้น  หรือสายโซ่เพื่อนให้คล้องสวมกับข้อมือได้กลายเป็นนาฬิกาข้อมือที่นับวันยิ่ง ได้รับความนิยม 
เนื่องจากความสะดวกสบายในการพกพาและดูเวลา  เพียงแค่พลิกข้อมือก็ทราบเวลาเเล้ว   นาฬิกาข้อมือยุคแรกๆในเมืองไทยยังเป็นนาฬิกาที่ดูเรียบง่ายคลาสสิค  มีตัวเรือนทองเป็นส่วนใหญ่กลไกลภายในยังเป็นกลไกลไขลานล้วนเป็นคุณสมบัติ เด่นๆของนาฬิกาพกมาก่อน  แต่ได้เปลี่ยแปลงไปคือการเน้นให้มีขนาดตัวเรือนเล็กและบางลง   โดยมีแหล่งผลิตและผู้ส่งออกนาฬิกาข้อมืออย่างแพร่หลายไปทั่วโลกสำคัญคือสวิส เซอร์แลนด์  คนไทยเราเองก็รับเอาอายธรรมของการใช้นาฬิกาข้อมือเข้ามาทดแทนนาฬิกาพก เช่นกันหลังจากนั้นเพียงไม่นานนาฬิกาพกก็แทบจะเลือนหายไปจากความคิดของผู้ นิยมนาฬิกามาก่อน

      ดูเหมือนว่าวิวัฒนาการของนาฬิกาข้อมือจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วที่สุด  เมื่อมีการคิดค้นกลไกและรูปทรงใหม่ๆ  ให้กับเรือนเวลาข้อมือกันมากขึ้น โดยเฉพาะจุดต้นกำเนิดของนาฬิกากลไกอัตโนมัติ ตามมาด้วยกระแสความนิยม
กลไกควอตซ์  ที่ส่วนใหญ่ผลิตมาจากประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะนิยมมาหวนนาฬิกาไขลานอีกครั้งในปัจจุบัน


               .......    อนุเคราะห์บทความโดย GM Watch
ที่มา:http://www.expert-watch.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=573884&Ntype=1

นาฬิกาเรือนแรกของโลก

 เวลา : ความหมาย

        หากเราขอให้ใครอธิบายความหมายของคำว่า เวลา เราจะได้รับคำตอบต่างๆ นานา เช่น
นักชีววิทยาคิดว่า " เวลา คือ ปัจจัยหนึ่งที่กำหนดพฤติกรรมของสัตว์และพืชให้ดำเนินไปอย่างสมดุลกับธรรมชาติ "
นักฟิสิกส์คิดว่า " เวลา คือ มิติหนึ่งของจักรวาล "
แต่ในมุมมองของคนทั่วไป คิดว่า " เวลา คือ ตัวเลขที่อยู่บนหน้าปัดนาฬิกา "

        ไม่เพียงคนในยุคปัจจุบันเท่านั้นที่ครุ่นคิดหาความหมายของเวลา แม้แต่คนในยุคโบราณก็ได้เคยศึกษาธรรมชาติของเวลาเช่นกัน เช่นเมื่อประมาณ 4,500 ปีก่อนนี้ เมื่อชาวบาบิโลนเห็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ เห็นฤดูกาลเปลี่ยนเห็นกลางวันเปลี่ยนเป็นกลางคืน เขาก็เริ่มรู้ความหมายของเวลา จึงเรียกระยะเวลาที่ฤดูเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน แล้วเข้าฤดูหนาว จนกระทั่งกลับเข้าสู่ฤดูร้อนอีกครั้งหนึ่งว่าหนึ่งปี และเรียกระยะเวลาที่เปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน แล้วกลับสู่กลางวันอีกว่า หนึ่งวัน
( สุทัศน์ ยกส้าน. 2544: 159 )


เขตเวลาโลก / เขตเวลามาตรฐาน

        โลกแบ่งเขตเวลาออกเป็น 24 เขตเวลา โดยใช้เส้นลองติจูดแบ่งเขตต่างๆ บนแผนที่ นับเริ่มต้นจากเมืองกรีนวิช ( Greenwish ) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยที่เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนวิช เวลาจะเร็วกว่า 1 ชั่วโมง ส่วนเขตเวลาที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองกรีนวิชเวลาจะช้ากว่า 1 ชั่วโมง 
        ส่วนเวลาในประเทศไทยนั้น ในสมัยโบราณคนไทยกำหนดเวลาอย่างคร่าวๆ คือ ตอนดวงอาทิตย์ขึ้นเรียกว่า ย่ำรุ่ง เวลาดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดีเรียกว่า เที่ยงวัน และ เวลาดวงอาทิตย์ตกเรียกว่า ย่ำค่ำ ต่อมาได้มีการจัดตั้งกรมอุทกศาสตร์ และมีนาฬิกาใช้ จึงมีการกำหนดเวลาให้เร็วกว่าเวลาที่เมืองกรีนวิช 6 ชั่วโมง 41นาที 58.2 วินาที
        ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประชุมว่าด้วยอุทกศาสตร์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเวลาที่ใช้สำหรับประเทศต่างๆ ให้นับห่างกันเพียงกึ่งชั่วโมง เพื่อให้สะดวกในการคิดคำนวณ และได้กำหนดให้เมืองกรีนวิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นจุดแห่งการกำหนด และเรียกว่า เวลามาตรฐานกรีนวิช ( Greenwish Mean Time ) ดังนั้นประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนมาใช้เวลามาตรฐานเป็นเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยเป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนวิช 7 ชั่วโมงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา


ตำนาน… แห่งสื่อบอกเวลา
        ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่มีนาฬิกาใช้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดวงอาทิตย์จึงเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่มนุษย์รู้จัก นักประวัติศาสตร์ชื่อ Herodotus ได้บันทึกไว้ว่า ประมาณ 3,500 ปีก่อน มนุษย์รู้จักใช้ นาฬิกาแดด ซึ่งนับว่าเป็นนาฬิกาเรือนแรกของโลก โดยสามารถอ่านเวลาได้จากเงาที่ตกทอดลงบนขีดเครื่องหมาย
        ต่อมาชาวกรีกโบราณรู้จักพัฒนา นาฬิกาน้ำ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านาฬิกาแดด เรียกว่า clepsydra ( คำนี้เป็นคำสนธิที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งแปลว่า ขโมย และคำ sydra ที่แปลว่า น้ำ )
เพราะนาฬิกานี้ทำงานโดยอาศัยหลักที่ว่า " ภาชนะดินเผาที่มีน้ำบรรจุเต็มเวลาถูกเจาะที่ก้นน้ำจะไหลออกจากภาชนะ
ทีละน้อยๆ เหมือนการขโมยน้ำ " ดังนั้นชาวกรีกโบราณจึงได้กำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจนหมดภาชนะว่า
1 clepsydra ( สุทัศน์ ยกส้าน. 2544: 159 ) แต่นาฬิกาน้ำนี้ต้องมีการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และในฤดูหนาวน้ำจะแข็งตัวทำให้ไม่สามารถใช้นาฬิกาได้ 
         จากข้อจำกัดนี้ทำให้มีการประดิษฐ์ นาฬิกาทราย ขึ้นมา โดยการนำทรายมาบรรจุในส่วนบนของภาชนะที่ทำด้วยแก้ว แล้วปล่อยให้เม็ดทรายเคลื่อนผ่านคอคอดเล็กๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนบนกับส่วนล่างของภาชนะจนหมด นาฬิกาทรายที่ใช้ได้สะดวกนี้ ทำให้บาทหลวงในคริสตศาสนาหันมาใช้นาฬิกาทรายในการจับเวลาสวดมนต์วันอาทิตย์ แทนนาฬิกาน้ำในเวลาต่อมา

        ใน ค.ศ. 1364 Giovanni de Dondi เป็นบุคคลแรกที่สร้าง นาฬิกาแบบมีเข็มบอกเวลาเป็นชั่วโมง แต่นาฬิกาของเขามีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีลูกศรบอกตำแหน่งของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงด้วย
Peter Henlein ช่างทำกุญแจชาวเยอรมันเป็นผู้สร้าง นาฬิกาเรือนแรกของโลก ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1500 แต่นาฬิกายังคงมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไม่ต่างจากเดิมเท่าใดนัก
ต่อมาในปี ค.ศ. 1500 Peter Henlein ได้สร้าง นาฬิกาที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา คือ หนักเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น
และในปี ค.ศ. 1641 กาลิเลโอ ได้สังเกตการแกว่งของตะเกียง เขาพบว่าการแกว่งครบรอบของตะเกียงแต่ละครั้งใช้เวลาเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะแกว่งมากหรือน้อยเพียงใด กาลิเลโอ จึงมอบหมายให้บุตรชายชื่อ Vincenzio Galilei สร้างนาฬิกาโดยใช้การแกว่งของลูกตุ้มเป็นเครื่องควบคุมเวลา เรียกว่า นาฬิกาเพนดูลัม ( Pendulum ) ซึ่งสามารถเดินได้อย่างเที่ยงตรงพอควร

        ในปี ค.ศ.1657 Christian Huygens นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ประดิษฐ์นาฬิกาโดยใช้หลักของ Pendulum ควบคุมการทำงานโดยมีส่วนประกอบคือ ล้อ ฟันเฟือง และลวดสปริง นาฬิกาแบบนี้สามารถวัดเวลาได้เที่ยงตรงมากกว่านาฬิกาเพนดูลัม

        ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว

        สำหรับประเทศไทย คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้เองเมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีวลีที่กำชับรับสั่งกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด มีความว่า " สยามจะอยู่รอด รักษาความเป็นไทไม่เป็นขี้ข้าฝรั่ง จะต้องทำให้คนไทยเชื่อมั่น และต่างชาติเชื่อว่าคนไทยนี้เก่ง " จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม ชื่อ Captain Loftus จัดทำ นาฬิกาแดด ไว้ให้เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกเวลา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนทุกวันนี้

เวลา…นาฬิกา…เป็นสิ่งมีค่า
เวลาเป็นของมีค่า อย่าฆ่าเวลาให้สิ้นเปลือง เสียเวลาไปโดยไร้ประโยชน์
และนาฬิกา เป็นสิ่งเตือนใจให้เป็นคนตรง ตรงต่อเวลา ตรงต่อตนเอง และตรงต่อผู้อื่น

ที่มา:http://iam.hunsa.com/suwi6434/article/3149